บทที่ 4 กลยุทธ์แท่งเทียน 5-7 นาทีในการอ่าน

ในบทเรียนก่อนของหลักสูตรนี้ เราได้รู้แล้วว่าแท่งเทียนญี่ปุ่นคืออะไร และได้รู้จักรูปแบบแท่งเทียนญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในบทที่สี่นี้ เราจะตรวจสอบสองกลยุทธ์ที่ต้องใช้ทักษะนักสืบในการจดจำและซื้อขายรูปแบบแท่งเทียน!

กลยุทธ์ Shooting star

สำหรับกลยุทธ์แรก เรามาทบทวนความจำเรื่องรูปแบบ Shooting Star กันดีกว่า ด้านล่างนี้ เราได้ยกตัวอย่างรูปแบบ “Shooting Star” บนแผนภูมิ H4 ของ GE

1.png

รูปแบบ Shooting Star สุดคลาสสิก:

  • มีไส้บนยาว ๆ และไส้ล่างสั้น ๆ

  • มีเนื้อเทียนขนาดเล็กมากและควรอยู่ใกล้กับจุดต่ำสุดของเซสชัน

  • ปรากฏขึ้นในช่วงแนวโน้มขาขึ้นหลังแท่งเทียนขาขึ้น สัญญาณจะได้รับการยืนยันในตอนที่แท่งเทียนแท่งถัดไปที่เป็นแท่งขาลงขนาดใหญ่ปิดต่ำกว่าราคาปิดของ Shooting Star

  • สามารถเป็นได้ทั้งแท่งสีเขียวหรือแท่งสีแดง

หากคุณยังคงมีปัญหาในการค้นหารูปแบบ “Shooting Star” คุณสามารถดูบทเรียนที่สองของหลักสูตรนี้ได้

เดี๋ยวเราไปดูอัลกอริธึมการซื้อขายของกลยุทธ์นี้กัน:

  1. รอให้ Shooting Star ปรากฏขึ้น จำไว้ว่าราคาควรเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้น

  2. เมื่อคุณได้สังเกตเห็นการก่อตัวของ Shooting Star แล้ว ให้รอให้แท่งเทียนถัดไปเคลื่อนที่ลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดของ Shooting Star ที่คุณเพิ่งเห็น คุณสามารถใช้คำสั่ง Sell Stop เพื่อวางคำสั่งซื้อขายของคุณอย่างแม่นยำไว้ที่จุดต่ำสุดของ Shooting Star

  3. Stop Loss ของคุณควรถูกวางไว้ที่จุดสูงสุดของ Shooting Star

  4. วาง Take Profit ของคุณไว้ที่ระดับแนวรับสำคัญถัดไป

เรามีตัวอย่างของกลยุทธ์นี้ให้ดูด้านล่าง บนกราฟ H4 ของ General Electric รูปแบบ Shooting Star ได้ก่อตัวขึ้น เราได้วางคำสั่ง Sell Stop ไว้ที่จุดต่ำสุดของรูปแบบ Shooting Star ที่ 18.50 จากนั้นวาง Stop Loss ไว้ที่จุดสูงสุดของแท่งเทียนนั้น และวาง Take Profit ไว้ที่แนวรับสำคัญก่อนหน้าที่ 17.10 ด้วยวิธีนี้ เราอาจทำกำไรได้ถึง 140 จุดในคำสั่งซื้อขายเดียว

2.png

"แล้วจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ Shooting Star กลายเป็นสัญญานหลอกได้อย่างไร?"

คุณจำเป็นต้องรอการยืนยัน แท่งเทียนถัดไปหลังจาก “Shooting Star” ควรเป็นแท่งขาลง แล้วอย่าลืมวาง Stop Loss เชียวล่ะ! เพราะมันจะช่วยปกป้องคุณจากคำสั่งซื้อขายที่สูญเสียได้

กลยุทธ์ต่อไปเป็นที่รู้จักในชื่อรูปแบบ “Third Candle” มันอาจมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบ “Three Black Crows” หรือ “Three White Soldiers” แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างรูปแบบนี้คือรูปแบบ “Third Candle” มีข้อจำกัดน้อยกว่าเกี่ยวกับราคาเปิดของแท่งเทียนแต่ละแท่ง

กลยุทธ์ Third Candle

รูปแบบนี้มีสองประเภท คือ ขาขึ้นและขาลง เราจะเริ่มต้นด้วยรูปแบบขาลงกัน

แท่งเทียนแท่งแรกของรูปแบบนี้จะเป็นแท่งขาขึ้น (เรียกว่าแท่งเทียน "ศูนย์") แท่งเทียนถัดไปควรจะเป็นแท่งขาลง แท่งขาลงแท่งที่สองควรยืนยันโมเมนตัมขาลง ส่วนแท่งที่สามจะใช้เพื่อเปิดสถานะ Short (ขาย)

3.png

ในทำนองกลับกัน เราจะระบุรูปแบบขาขึ้น โดยแท่งเทียนขาขึ้นแท่งแรกควรปรากฏหลังแท่งเทียนขาลง (“ศูนย์”) มันควรจะสร้างจุดต่ำสุดใหม่ แท่งขาขึ้นแท่งที่สองจะถูกใช้เพื่อยืนยันการกลับตัวเป็นขาขึ้น ราคาเปิดของแท่งที่สามจะเป็นระดับที่เราเปิดสถานะ Long (ซื้อ)

4.png

หลังจากที่ระบุรูปแบบ “Third Candle” ได้แล้ว เราจะมาพิจารณาขั้นตอนหลัก ๆ ของกลยุทธ์กัน

สำหรับสถานะ Long:

  1. รอให้รูปแบบ “Third Candle” ขาขึ้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก่อน หากแท่งเทียนแท่งแรกและแท่งที่สองมีขนาดเล็ก คุณไม่ควรเข้าสู่ตลาดเพราะมันแสดงให้เห็นว่าตลาดขาขึ้นกำลังสูญเสียความแข็งแกร่ง

  2. ต่อมา ให้แนบ Stochastic oscillator เข้ากับกราฟ เส้นของตัวบ่งชี้นี้ควรจะเคลื่อนที่ขึ้น

  3. หากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด ให้เปิดสถานะ Long หลังจากแท่งที่สามเปิดขึ้น

  4. วาง Stop Loss ไว้ใต้จุดต่ำสุดของแท่งแรก

  5. วางระดับ “Take Profit” ไว้ที่ระดับแนวต้านสำคัญถัดไป

ไปดูตัวอย่างด้านล่างกันเลย! บนกราฟรายวันของ NZD/USD ที่ได้เกิดรูปแบบ “Three Candles” หลังจากที่แท่งเทียนแท่งที่สามได้ปรากฏขึ้น เราได้ยืนยันโมเมนตัมขาขึ้นโดยดูที่ Stochastic oscillator ที่กำลังออกจากโซนขายมากเกินไป และค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เราได้วางคำสั่ง Buy Stop ไว้ที่ 0.6743 วาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งเทียน “ศูนย์” ที่ 0.6645 และวาง Take Profit ไว้ที่ 0.6817 ใกล้กับแนวต้านสำคัญก่อนหน้า ด้วยวิธีนี้เราอาจได้กำไรถึง 740 จุด

5.png

สำหรับสถานะ Short:

สถานการณ์ของการเปิดสถานะ Short ก็คล้าย ๆ กับที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

  1. รอให้เกิด “Third Candle” ขาลง เช่นเดียวกับสถานการณ์การเทรดสถานะ Long เนื้อเทียนของแท่งแรกและแท่งที่สองไม่ควรมีขนาดเล็ก

  2. Stochastic oscillator ควรวิ่งลง

  3. เปิดสถานะ Short ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนแท่งที่สาม

  4. วาง Stop Loss ไว้เหนือจุดสูงสุดของแท่งเทียนแท่งแรก

  5. วาง Take Profit ไว้ที่ระดับแนวรับสำคัญถัดไป

ด้านล่างนี้ เราจะให้ตัวอย่างของการเปิดคำสั่งซื้อขาย Sell

หลังจากที่เกิดรูปแบบ “Three Candle” บนกราฟรายวันของ NZD/USD เราได้รอให้ตัวบ่งชี้ Stochastic วิ่งลง เราได้วาง Sell Stop ไว้ที่ราคาเปิดของแท่งเทียนแท่งที่สามที่ 0.6921 วาง Stop Loss ไว้เหนือระดับสูงสุดของแท่งแรกที่ 0.6983 และวาง Take Profit ไว้ที่ระดับแนวรับที่ 0.6833 ส่งผลให้เราได้กำไร 880 จุด

6.png

"การวาง Take Profit ไว้ใกล้แนวรับและแนวต้านสำคัญมีความสำคัญกับกลยุทธ์นี้หรือไม่?"

ระดับแนวรับและแนวต้านจะแสดงถึงโซนการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น ราคาอาจเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามเมื่อถึงเป้าหมายนี้ เราขอแนะนำให้วางระดับ Take Profit ไว้ต่ำกว่าแนวต้านที่ใกล้ที่สุดและเหนือแนวรับที่ใกล้ที่สุดเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ขอแนะนำให้เลื่อนระดับ Take Profit ตามไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยปิดสถานะเมื่อคุณเห็นสัญญาณของการกลับตัว (การตัดกันของ Stochastic oscillator ในโซนซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไป และรูปแบบแท่งเทียนกลับตัว)

ตอนนี้คุณรู้จักสองกลยุทธ์การซื้อขายยอดนิยมที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบแท่งเทียนญี่ปุ่นไปแล้ว แน่นอนว่ายังมีกลยุทธ์อื่นอีกเยอะมาก! อย่าลืมฝึกฝนการซื้อขายด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ในบัญชีทดลองด้วยนะ

สรุปบทเรียน

  • กลยุทธ์ Shooting Star เป็นที่นิยมมากในเหล่าเทรดเดอร์ เนื่องจากรูปแบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำบนกราฟ

  • รูปแบบ Shooting Star จะปรากฏขึ้นที่จุดสิ้นสุดของแนวโน้มขาขึ้น แต่จำเป็นต้องมีแท่งเทียนขาลงมาช่วยยืนยันอีกที

  • ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรูปแบบ “Three Black Crows” และ “Third Candle” คือรูปแบบ Third Candle มีข้อจำกัดน้อยกว่าเกี่ยวกับราคาเปิดของแท่งเทียนแต่ละแท่ง

  • กลยุทธ์ “Third Candle” ต้องใช้ Stochastic oscillator มาช่วยยืนยันโมเมนตัม

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ: